top of page
  • ไอคอนสีดำทวิตเตอร์
  • Facebook
  • Linkedin
  • รูปภาพนักเขียนTan

Executive performance องค์ประกอบสำคัญที่หากขาดไป จะทำให้ฉ

สมรรถนะหรือความสามารถในการสร้างผลผลสัมฤทธิ์ของงานสำหรับพนักงานระดับบริหาร (Executive performance) เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ต้องได้รับการประเมิน ซึ่งหลายองค์กรไม่ทันได้นึกถึง



ความเชื่อมโยงระหว่าง executive performance ที่ต้องสอดคล้อง สัมพันธ์ไปกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร จึงจะช่วยให้องค์กรเกิดการสร้างความสามารถในเชิงการแข่งขัน (Competitive advantage) เพราะองค์กรมีชีวิต มีการเติบโต ในขณะที่ความยั่งยืน (Sustainability) ที่ทุกองค์กรใฝ่หาล้วนไม่มีจริง เราทำได้เพียงสร้างความยั่งยืนผ่านการสร้าง competitive advantage และความสามารถในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด อนาคตองค์กรอาจไม่ได้ทำธุรกิจปัจจุบันเลยก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ GE และการที่จะรักษาความสามารถในเชิงการแข่งขันไว้ได้ องค์กรต้องมีกลยุทธ์ และการบรรจบกันของ Capabilities และ Resources base ที่ match กับโอกาสและภัยคุกคามที่เข้ามาเป็นระยะ


การประเมินสมรรถนะผู้บริหาร (Executive performance) แบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

1.) Performance Appraisal

2.) Performance Assessment

ทั้งสองคำในภาษาไทยเรียกว่า “การประเมิน” ทั้งคู่ แต่จริงๆ แล้วแตกต่างกันแทบจะโดยสิ้นเชิง


Performance assessment เป็นส่วนสำคัญที่สุดของ PMSs เป็นการดำเนินการแบบครอบคลุมครบถ้วน (exhaustive) เกือบทุกด้านแบบต่อเนื่อง เป็นระยะๆ และจำเป็นต้องมีการจัดทำ coaching and feedback รวมถึง performance audit เพื่อเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดผลในทางลบที่ไม่อาจแก้ไขได้ที่องค์กรไม่ประสงค์ให้เกิดขึ้น โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนอื่นๆ เข้ามาร่วมเป็นองค์ประกอบ อาทิ personal developmental plans หรือ การค้นหา areas of needed improvement performance เป็นต้น


Performance appraisal ในภาวะปกติจะทำการประเมินปีละครั้งหรือสองครั้งจากหัวหน้างาน ไม่มีการ coaching หรือแลกเปลี่ยน feedback อาจเพียงแจ้งหรือบอกกล่าวให้ผู้รับการประเมินทราบระดับผลงานและสิ่งที่ต้องปรับปรุง ในภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลง Top management team หรือเกิดการซื้อขายกิจการ ผู้บริหารสูงสุดชุดใหม่ต้องการประเมินศักยภาพหรือความสามารถ (competencies) ของผู้บริหาร Appraisal ไม่จำเป็นต้องจัดทำแบบ exhaustive อาจจะเป็นการมุ่งเน้นเฉพาะสร้างเกณฑ์แบบเจาะจงที่เห็นว่าสำคัญต่อการสร้างความสำเร็จแก่เป้าหมายที่องค์กรคาดหวัง รวมถึง knowledge, skills and mindset สำคัญๆ ที่ต้องการเท่านั้น มีองค์กรจำนวนมากที่ยังคงใช้วิธีการ performance appraisal อยู่ เป็นเหตุที่ทำให้การประเมินผลขาดประสิทธิภาพ ไม่มีแรงจูงใจและเป็นกิจกรรมสิ้นปีที่น่าเบื่อ


การออกแบบ performance assessment จะมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ มีการจัดทำ change management หรือเปลี่ยนแปลง corporate mission and policy แม้กิจการประเภทเดียวกัน แต่วัฒนธรรมองค์กรแตกต่างกันไป รูปแบบการให้น้ำหนักก็แตกต่างกันออกไป


ขอบคุณที่ติดตาม

ดู 71 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


StrategicCoach2
bottom of page