top of page
  • ไอคอนสีดำทวิตเตอร์
  • Facebook
  • Linkedin
  • รูปภาพนักเขียนSasorn Soratana

กลยุทธ์ในระดับหน้าที่ จุดเริ่มต้นของความสำเร็จหรือผิดพลาด

กลยุทธ์ในระดับหน้าที่ Functional strategy level มีความสำคัญมาก เป็น task ที่สนุกและมีความละเอียดอ่อน จุดเริ่มต้นของความสำเร็จหรือผิดพลาดเกิดขึ้นที่ระดับนี้ได้อย่างไร

ผ่านกรณีศึกษาในมุมมองการวางกลยุทธ์ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท


[ตัดทอนมาเพียงบางส่วน เนื่องจากบทความฉบับเต็มมีความยาวมาก จากการให้รายละเอียดและยกตัวอย่างประกอบในกลยุทธ์แต่ละขั้นไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนและผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ ปฏิบัติได้ หากท่านใดสนใจรับบทความฉบับเต็ม สามารถติดต่อขอรับได้ตามลิงก์ด้านล่าง]

10. สรุปโดยย่อเกี่ยวกับความสำคัญของ functional strategy level:

ในทัศนะและประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เขียน เห็นว่ากลยุทธ์ในระดับหน้าที่มีความสำคัญมาก เป็น task ที่สนุกและมีความละเอียดอ่อน จุดเริ่มต้นของความสำเร็จหรือผิดพลาดเกิดขึ้นที่กลยุทธ์ในระดับนี้ บางกิจการผู้บริหารมักเห็นว่า กลยุทธ์ระดับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีปฏิบัติในงานประจำอยู่แล้ว (embedded in daily working)

ครับอาจใช่ถ้ามองในแง่หนึ่ง แต่ในมุมมองภาพรวมและกลยุทธ์แล้ว กลับเห็นว่า ซับซ้อนและจำเป็นต้องวางแผนร่วมกันกับทุกฝ่ายงาน โดยมี model ที่เหมาะสมมากำกับเป็นกรอบ มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ในระดับธุรกิจ

สำหรับผู้เขียนแนะนำว่า ให้ใช้ model ของ Michael E. Porter “Value chain analysis and value system” ครับ เพราะมองเห็นทั้งแบบองค์รวม ภายในองค์กรและองค์กรกับภายนอก โดยเฉพาะ supply side และ demand side เหตุผลสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่ากลยุทธ์ในระดับนี้สนุก ละเอียดอ่อน และเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง สามารถสรุปแบบสั้นๆ ดังนี้

  • ไม่ว่าการสร้างนวัตกรรม การสร้างความแตกต่างหรือการลดต้นทุนล้วนแฝงอยู่ในทุกกิจกรรม

  • ในการจัดทำ performance management เรื่อง value chain ถือเป็นปัจจัยเริ่มต้นในการพิจารณา เพราะผลงานของแต่ละฝ่ายล้วนมีองค์ประกอบมาจากกิจกรรมที่ต้องดำเนินการร่วมกันทั้งสิ้น เพื่อที่จะใช้เป็นเกณฑ์ให้น้ำหนักในการ measuring

  • ทุกกิจกรรมขององค์กรนำมาซึ่งทั้งต้นทุน ค่าใช้จ่ายและสร้างรายรับ คือ ส่งมอบคุณค่าโดยตรงให้แก่ลูกค้า

  • กิจกรรมทุกกิจกรรม (activities) ต้องอาศัยการร่วมมือ หรือทำร่วมกันในระหว่างฝ่าย ซึ่งถ้ามองจาก organization chart ตามปกติ ยากมากครับที่จะมองเห็น (hard to discern)

  • สามารถเห็นได้ชัดเจนในเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรในแต่ละกิจกรรม

  • ทุกกิจกรรมใน Value chain ต้องเป็นไปในทางเดียวกันคือ การยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และ optimize เป้าหมายของทุกฝ่าย โดยคำนึงถึง ultimate organization goals


และที่สำคัญที่สุดก็คือ จำเป็นต้องพัฒนาและประยุกต์ใช้ technology ที่เหมาะสม ตามบริบทของแต่ละองค์กร มาพัฒนาเป็น solution ที่ตอบโจทย์ในทุกกิจกรรมใน value chain กล่าวให้ง่ายก็คือ การนำเอา digital technology มาใช้ในในทุกกิจกรรม มิฉะนั้นองค์กรจะเกิดความเสียเปรียบในเชิงการแข่งขัน (competitive disadvantage)

ยังคงมีอีกหลายกิจการนะครับ ที่เน้นเพียงการใช้ digital technology ในเรื่องของการตลาดและการสื่อสารเป็นหลัก เพราะหากองค์กรประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมแล้ว จะทำให้ได้ทั้งข้อมูล (data) การกระจายข้อมูลสู่ทุกฝ่าย เพราะวันนี้ “Data is power” ครับ

บทสรุป :

ว่าจะให้กระชับและสั้นแล้ว แต่ก็ยังคงยาวประมาณหนึ่งอยู่ดี ขออนุญาตย้ำครั้งสุดท้ายว่า ทั้งหมดที่เขียนเป็นความเห็นส่วนตัว การกำหนดกลยุทธ์ การวางกลยุทธ์ ล้วนมาจากจินตนาการของผม เพียงเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นรูปแบบในการวางและกำหนดกลยุทธ์ที่เป็นตรรกะ เป็นระบบ มีความเป็นเหตุเป็นผล ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสอดคล้องและการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรขององค์กรได้ เห็นถึงการปิดช่องว่างในเรื่องข้อจำกัดของรายได้ที่คาดหวังด้วยวิธี integrative growth การขยายธุรกิจที่ยังคงอยู่ในแนว “เดินข้ามแม่น้ำ โดยสัมผัสหินทีละก้าว ของเติ้งเสี่ยวผิง”

คงต้องมาดูกันต่อไปว่า จะเป็นอย่างไร

ขอบคุณที่ติดตามครับ

สสรณ์ โสรัตน์

ดู 515 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


StrategicCoach2
bottom of page